ชุมชนบ้านสระ ชื่อเดิมว่าหมู่บ้านสระ ต่อมาเทศบาลเมืองชะอำจัดตั้งชุมชนเจ้าพ่อเขาใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านสระ หมู่บ้านหัวเขา หมู่บ้านโค้งเขาใหญ่ ยาวไปตามถนนเพชรเกษมประมาณ 3 กิโลเมตร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างทั่วถึง ประชาชนบ้านสระจึงขอแบ่งส่วนจากชุมชนเจ้าพ่อเขาใหญ่ จากด้านเหนือของปั้มบางจาก ถึงทางรถไฟ ทิศใต้จากร้านขนมหวานแม่กิมลุ้ย ถึงทางรถไฟความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 510 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 318 ครัวเรือน
“ชุมชนเจ้าพ่อเขาใหญ่” เดิมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบ้านใหญ่ชะอำ ซึ่งมีขนาดพื้นที่ของชุมชนขนาดใหญ่ และมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก จึงขอแบ่งแยกเพื่อจัดตั้งเป็นชุมชนใหม่ขึ้น 2 ชุมชน คือ ชุมชนเจ้าพ่อเขาใหญ่และชุมชนบ้านสระ
“เจ้าพ่อเขาใหญ่” เป็นชื่อศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ที่ชาวชะอำให้ความเคารพ ศรัทธา มีความศักดิ์สิทธิ์ นับมาจากโบราณกาล เดิมหมู่บ้านหน้าศาล (เจ้าพ่อเขาใหญ่) หมู่บ้านสระและหมู่บ้านโค้งเขาใหญ่ อยู่ในความดูแลของชุมชนบ้านใหญ่ชะอำมาเป็นเวลา 10 ปี ต่อมาความเจริญได้แผ่กระจายเข้ามาทำให้มีคนมาอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การดูแลของชุมชนบ้านใหญ่ชะอำไม่ทั่วถึง คณะกรรมการชุมชนบ้านใหญ่ชะอำและผู้นำชาวบ้านใน 3 หมู่บ้าน จึงเห็นพ้องต้องกันว่าน่าจะแยกชุมชนออกเป็น 2 ชุมชน โดยแยกหมู่บ้านหน้าศาล หมู่บ้านคันคลองชลประทาน (ชะอำ) หมู่บ้านแยกหุบกะพงและหมู่บ้านโค้งเขาใหญ่ออกเป็นอีก 1 ชุมชน โดยใช้ชื่อว่า “ชุมชนเจ้าพ่อเขาใหญ่” เพื่อความเป็นสิริมงคลสำหรับชุมชนตั้งใหม่เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมามีประชากรทั้งสิ้น 1,374 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 430 ครัวเรือน
1. กลุ่มด้านการเกษตร ต้องการแหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ทำการเกษตร ฯลฯ
2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ชะลอมเส้นพลาสติก และโคมไฟเปลือกหอย ต้องการการสนับสนุนด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และแหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์
3. ประเด็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (วัดชะอำ) ต้องการการสนับสนุนด้านการพัฒนาผู้นำเที่ยวและตลาดชุมชน
สำหรับกิจกรรมที่ต้องการสนับสนุนสามารถสรุปได้ดังนี้ ต้องการการสนับสนุนแหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์ ต้องการสนับสนุนอุปกรณ์ทำการเกษตร ฯลฯ ความต้องการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ แหล่งรับซื้อผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผู้นำท่องเที่ยวและต้องการการสนับสนุนทางตลาดชุมชน
คณะครุศาสตร์
SWOT ชุมชนบ้านสระ – เจ้าพ่อเขาใหญ่
จุดแข็ง |
จุดอ่อน |
1. พื้นที่ตั้งอยู่ใกล้ถนน สามารถเป็นจุดที่ส่งเสริมการขาย 2. อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว 3. ชุมชนที่เข้าร่วมการดำเนินงานมีความคุ้นเคย สามารถรวมกลุ่มได้ 4. คนในชุมชนมีองค์ความรู้และมีความพร้อมในการพัฒนาตนเอง |
1. เป็นชุมชนกึ่งเมือง และมีคนนอกพื้นที่เข้ามาอาศัยบ้าง 2. พื้นที่ส่วนรวมมีขนาดเล็ก 3. ชุมชนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่อายุมาก ยังไม่ทันเทคโนโลยี 4. ยังไม่มีการรวมกลุ่มเป็นรูปธรรม |
วิกฤต |
โอกาส |
1. สถาณการณ์โรคระบาดโควิด - 19 |
1. ชุมชนมีการแสวงหาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง 2. มีหน่วยงานในพื้นที่สนับสนุนการรวมกลุ่มของชุมชน
|