หมู่บ้านพุเข็มตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกในเขตกิจกรรมพิเศษของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นชุมชนที่ซ่อนตัวอยู่หลังแนวเขื่อน ด้านหน้าติดผืนน้ำกว้างใหญ่ ด้านหลังติดแนวเขาที่เป็นพรมแดนกั้นระหว่างไทยกับพม่า มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอย่างมาก มีจำนวนประชากรทั้งหมด 330 คน และจำนวนครัวเรือน 202 ครัวเรือน จากการประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ทำให้ชุมชนบ้านพุเข็มกลายเป็นหมู่บ้านเงื่อนไขพิเศษ ที่อยู่ภายใต้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ ส่งผลให้ชุมชนบ้านพุเข็มได้ถูกกำหนดเขตที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับชาวบ้าน โดยไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ และภายในหมู่บ้านไม่สามารถมีไฟฟ้าใช้ได้ต้องใช้พลังงานงานจากแผงโซล่าเซลล์
จากการลงพื้นที่พูดคุยและประสานงานกับเครือข่ายชุมชน ได้แก่ นายอำเภอแก่งกระจาน และพัฒนาการอำเภอแก่งกระจาน พบว่าอำเภอแก่งกระจานเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในด้านทรัพยากรธรรมชาติ มีจุดแข็งในด้านของการเป็นแหล่งการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่อย่างไรก็ตามพบว่ามีประชาชนในชุมชนพุเข็ม ของอำเภอแก่งกระจานที่ยังเป็นกลุ่มประชาชนที่มีปัญหาหลักเรื่องปลาจำนวนมาก และคนในชุมชนมีอาชีพจับปลาขายแต่ปริมาณการรับซื้อปลาของพ่อค้าคนกลางแต่ละวันไม่มีความแน่นอน การนำปลามาขายภายนอกชุมชน จะประสบปัญหาในการขนส่ง ปลามีหลายชนิด เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลากระมัง เป็นต้น ปลาชนิดดังกล่าวสามารถขายได้และได้ราคาดี ส่วนปลากระมังมีจำนวนมาก แต่ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคเนื่องจากปลากระมังเป็นปลาที่มีก้างจำนวนมาก ทำให้ปลากระมังที่จับได้เหลือจากการขายและขาดทุน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีศักยภาพในด้านการแปรรูป จึงได้นำปัญหาดังกล่าวมาแก้ไขเพื่อให้ชุมชนเกิดรายได้และวางแผนเพื่อพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาโฮมสเตย์ การอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมงและสินค้า OTOP
จุดเเข็ง
-ต้นทุนทางธรรมชาติ
-มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
-มีผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากปลาของชุมชนได้รับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารและยา
-มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
จุดอ่อน
-ไม่ค่อยมีคนรู้จักแหล่งท่องเที่ยว
-วัตถุดิบในการแปรรูปไม่มีตลอดทั้งปี
โอกาส
-เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวมรดกโลก
-แหล่งท่องเที่ยวบ้านพุเข็มเป็นที่รู้จักทั่วโลก
อุปสรรค
-เส้นทางการเดินทางไม่ค่อยสะดวก ทั้งทางเรือและทางรถ
-การจัดการเรื่องเวลาในการบริหารงาน
เกษตรกรและประมง