ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ราษฎรประมาณ ๑๐ คนได้เข้ามาที่ทำกินในบ้านคีรีล้อม โดยประกอบอาชีพทำไร่ข้าว ปลูกพริก และข้าวโพด และต่อมาก็เพิ่มจำนวนขึ้นจนในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีเด็กที่เข้าสู่วัยเรียนจำนวนหนึ่งซึ่งจะต้องไปเรียนหนังสือแต่โรงเรียนประถมที่อยู่ใกล้ที่สุดคือโรงเรียนบ้านในล็อค ระยะทางประมาณ ๑๑ กิโลเมตร เส้นทางทุรกันดารในช่วงฤดูฝนการเดินทางลำบากมาก ผู้นำชุมชนได้มีการร้องขอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น
ลักษณะชุมชนในเขตพื้นที่บริการของศูนย์การเรียนเป็นชุมชนขนาดเล็ก ได้แก่ หมู่ที่ ๑ และ หมู่ที่ ๘ ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประชากรประมาณ ๑๔๐ ครัวเรือน ๕๗๔ คน คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกยางพารา และ ปาล์มน้ำมัน รายได้เฉลี่ย ๕๐,๐๐๐ บาท ต่อครัวเรือน/ปี สภาพเศรษฐกิจปานกลาง ชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายตามสภาพการเป็นอยู่ของชุมชน ชุมชนมีความเข้มแข็งโดยเป็นหมู่บ้านป้องกันชายแดน ทำงานเป็นกลุ่ม ผู้ปกครองและชุมชนมีความต้องการให้เด็กได้มีความสุขสูงสุดเพื่อได้กลับมาพัฒนาในชุมชนของตนเอง ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดีตลอด
อาณาเขตติดต่อ
บ้านคีรีล้อม ตั้งอยู่ที่ หมู่ ๑ ตำบลตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับภูเขา อยู่ติดชายแดนไทย – เมียนมาร์ โดยมีเทือกเขาตะนาวศรีเป็นแนวเขตกั้นลักษณะของพื้นที่ เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านเขาแก้ว ต.ทองมงคล อ.บางสะพาน
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านบางเจริญ ต.ไชยราช
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ ๘ บ้านช่องลม
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า
การคมนาคม
จากศาลากลางจังหวัดประจวบฯถึงศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม ระยะทางประมาณ ๑๐๕ กม. ลาดยาง ๙๑ กม. ลูกรัง ๗ กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑.๓๐ ชั่วโมง
จากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ ถึงศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม ระยะทางประมาณ ๘๔.๘ กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑.๒๐ ชั่วโมง
จากถนนเพชรเกษมทางเข้าบ้านโป่งโกถึงหมู่บ้านคีรีล้อมเป็นระยะทาง ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร เป็นถนนคอนกรีต ๗ กิโลเมตร ( ขนาดความกว้างของถนน ๔ เมตร ) ถนนลูกรังและลาดชัน ๗ กิโลเมตร ( ขนาดความกว้างของถนน ๓ เมตร ) ใช้รถยนต์ขับเคลื่อน ๔ ล้อ และรถยนต์ขับเคลื่อน ๒ ล้อ
จำนวนประชากร
จำนวนประชากรจำนวน ๑๔๐ ครัวเรือน ประชากร ๕๗๔ คน ชาย ๒๘๕ คน หญิง ๒๘๙ คน
ศาสนา/ภาษาที่ใช้
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ใช้ภาษาใต้และภาษาไทยกลาง
การประกอบอาชีพ / รายได้เฉลี่ย
ประชากรชาวไทย อาชีพหลัก ทำสวน ๘๐ %
อาชีพรอง รับจ้าง ๒๐ %
ประชากรเชื้อสายพม่า อาชีพหลัก รับจ้าง ๙๐ %
อาชีพรอง ทำสวน ๑๐ %
พืชไร่ที่ราษฎรนิยมปลูกส่วนใหญ่ คือยางพารา , ปาล์มน้ำมัน ,พริก , ทุเรียน , กล้วย , มะละกอ, กาแฟ, มังคุดรายได้โดยเฉลี่ย ราษฎรไทย ครอบครัวละประมาณ ๕๐,๐๐๐ บาท / ปี
การบริการของรัฐ
-มีประปาภูเขา
-มีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
-การติดต่อสื่อสารไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ สามารถติต่อสื่อสารได้ทางวิทยุสื่อสาร
ผู้นำหมู่บ้าน
นางพัณนิดา เกตุแก้ว กำนันตำบลช้างแรก
นายประสิทธิ์ ยังแก้ว ผู้ใหญ่บ้านคีรีล้อม
หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พิกัด ละติจูด 12.161016 ลองติจูด 99.303844
ระบบการศึกษา
ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เปิดทำการเรียนการสอน ๒ ภาคเรียน คือ
ภาคเรียนที่ ๑ เปิดเรียนวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๐ ตุลาคม
ภาคเรียนที่ ๒ เปิดเรียนวันที่ ๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม
สนับสนุนนโยบายของหน่วยงานบังคับบัญชาต้นสังกัดและร่วมมือกับหน่วยงานอื่นในการพัฒนา ท้องถิ่น
พัฒนางานโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และผลสำเร็จของโครงการ
ร่วมมือกับประชาชนในหมู่บ้าน หมู่บ้านใกล้เคียง ในการพัฒนาท้องถิ่น และโรงเรียน
ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม
หมู่ที่ ๑ ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิกัด ละติจูด 12.161016 ลองติจูด 99.303844
เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการบินไทย อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ให้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนสำรวจพื้นที่จุดบอดที่ยังไม่มีการจัดการศึกษา และให้จัดการศึกษาให้กับประชาชน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ ได้รับสั่งการจาก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จึงได้ดำเนินการสำรวจ พบว่าหมู่บ้านคีรีล้อม ซึ่งประชาชนต้องการให้มีการจัดตั้งโรงเรียน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ จึงได้ขออนุมัติ จัดตั้งศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านคีรีล้อม ซึ่งได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ และได้เปิดสอนอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ นักเรียนรวมทั้งสิ้น ๗๘ คน ชาย ๔๑ คน หญิง ๓๗ คน ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๙ คน
ปีการศึกษา ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯพระราชทานเงิน ๓๐๔,๐๐๐ บาท จัดสร้างบ้านพักครู และ บริษัทไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน ๔,๙๐๐,๐๐๐ บาท จัดสร้างอาคารเรียนมาตรฐาน ๒ ชั้น และห้องสุขา ๑๐ ห้อง จำนวน ๑ หลัง
ปีการศึกษา ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน จำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท จัดสร้างอาคารเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน ๑ หลัง
ปัจจุบันโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น ๖๑ คน ครู ตชด. ทำการสอนจำนวน ๗ นาย ครูอัตราจ้างตามโครงการ รร.คู่พัฒนา จำนวน ๑ คน และผู้ดูแลเด็กเล็ก ๒ คน มี ร.ต.อ. ไชยา จันทะดี ทำหน้าที่ ครูใหญ่ โทร ๐๘ ๕๔๔๙ ๔๘๙๙
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านคีรีล้อม จำนวน ๑ ครั้ง เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ (เป็นครั้งที่ ๘๔๐ ของประเทศ)
การดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ
วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียนตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ฉบับที่ 5 (ปี 2560 - 2569) โดยมีผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
เป้าหมายหลักที่ 1 เสริมสร้างสุขภาพของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา
เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสมดุลในด้าน พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพละศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ มีความรักหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้
เป้าหมายหลักที่ 2 เพิ่มโอกาสทางการศึกษา
เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสศึกษาต่อมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของครูและโรงเรียนให้จัดการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์
เป้าหมายหลักที่ 3 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางวิชาการและทางจริยธรรม
เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งวิชา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา รวมทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
เป้าหมายหลักที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้อาชีพการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์ และการจัดทำบัญชี งานอาชีพที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ตลอดจนมีลักษณะนิสัยและคุณธรรมจริยธรรมตามหลักและอุดมการณ์สหกรณ์
เป้าหมายหลักที่ 5 ปลูกจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นความงดงาม เกิดเป็นความปิติที่ จะศึกษา เป็นความรัก ความผูกพัน หวงแหนในทรัพยากรของตน ร่วมในกระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป้าหมายหลักที่ 6 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นและของชาติไทย
เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย โดยทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง
เป้าหมายหลักที่ 7 ขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชน
เพื่อขยายการพัฒนาจากโรงเรียนสู่ชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็ง และพึ่งตนเองได้ ครอบครัว และชุมชนเกิดการพัฒนา ช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนและโรงเรียนไปพร้อมๆกัน
เป้าหมายหลักที่ 8 พัฒนาสถานศึกษาเป็นศูนย์บริการความรู้
เพื่อให้สถานศึกษาเป็นศูนย์บริการความรู้ให้แก่ผู้ปกครองและชุมชน สามารถในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาให้แก่สถานศึกษาอื่นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละที่ สร้างความร่วมมือ