บ้านวังก์พง เป็นตำบลเก่าแก่ ประชาชนส่วนใหญ่พูดภาษาไทยภาคกลาง นับถือศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอปราณบุรี ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านเบญจพาส บ้านวังก์พง บ้านวังยาว บ้านหนองหอย บ้านฝั่งท่า บ้านท่ามะนาว และบ้านแก่งกระทิง พื้นที่ของตำบลวังก์พง ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา บางแห่งเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับทำไร่ ทำสวน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 65.008 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 40,630 ไร่
ชาววังก์พงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ ทำสวนหรือทำไร่ และประกอบอาชีพเสริม ด้านอุตสาหกรรม ในครัวเรือน และรับจ้างทั่วไป
สาธารณูปโภคของบ้านวังก์พงมีไฟฟ้าใช้ 7 หมู่บ้าน มีโทรศัพท์เข้าถึงทุกหมู่บ้าน มีประปาใช้เป็นส่วนใหญ่ มีแม่น้ำผ่าน 1 สาย ลำห้วย 5 แห่ง สระน้ำ 7 แห่ง บ่อน้ำตื้น 5 แห่ง บ่อบาดาล 93 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นของส่วนตัว การคมนาคมเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
การเดินทางสู่บ้านวังก์พงจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ผ่านสมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านเพชรบุรี เข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หรือจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ถึงปราณบุรี บริเวณหน้าค่ายธนะรัชต์มีทางแยกซ้ายเข้าบ้านวังก์พง ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอปราณบุรีมาประมาณ 3 กิโลเมตร บ้านวังก์พงมีผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อ ได้แก่ วุ้นมะพร้าว และวุ้นสับปะรด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบมีแม่น้ำปราณบุรีไหลผ่านทางตอนใต้ของตำบล มีเขาเบญพาสอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่ทางทิศตะวันออกบางส่วนอยู่ในเขตป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีประกาศ สภาพพื้นที่เหมาะสมกับการเกษตร โดยเฉพาะการทำพืชไร่
4.3 ต้องการจัดทำบรรจุภัณฑ์ การบรรจุผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ และความรู้ในการเก็บรักษาสินค้าภายในบรรจุภัณฑ์
4.4 การประชาสัมพันธ์ และการโฆษณาสินค้าตามช่องทางต่าง ๆ ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์การแปรรูปผลผลิตจากสับปะรดแบบครบวงจรเพื่อหนุนเสริมการท่องเที่ยวชุมชน
จุดแข็ง
1.คนในชุมชนมีความเข้มแข็งและให้ความร่วมมือกันเป็นของคนในชุมชนดี
2.พื้นที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจในการปลูกสับปะรด
3.พื้นที่เป็นจุดยุทธศาสต์ที่ดีในการทำการท่องเที่ยว
จุดอ่อน
ชุมชนมีรายได้จากผลผลิตของสับปะรดขึ้นอยู่กับราคาท้องตลาด หรือจากที่พ่อค้าคนกลางเป็นคนกำหนด จึงทำให้ราคาสับปะรดตกต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนขาดความรู้ ขาดทักษะในการแปรรูปสับปะรด และการนำใบสับปะรดมาแปรรูปเป็นเส้นใยเนื่องจากผลผลิตจากเส้นใยสับปะรดสามารถนำมาพัฒนาเป็นสินค้าที่ช่วยมลพิษของเสียจากวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตร การนำเปลือกและเหง้าจากสับปะรดมาทำเอมไซม์โบรมิเลน สำหรับย่อยเนื้อสัตว์ที่เหนียวๆ ให้นุ่มได้
โอกาส
การพัฒนาสินค้าจากผลิตภัณฑ์สับปะรดเป็นหนึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี พ.ศ. 2560- 2564 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านการผลิตและแปรรูปสับปะรด มะพร้าว และสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก จังหวัดถูกเรียกว่าเป็นเมืองหลวงสับปะรด “สับปะรด” ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและประชาชน ที่ปลูกสับปะรดเป็นการส่งเสริมให้เศรษฐกิจระดับฐานล่างมีความเข้มแข็งและยังเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรที่ปลูกสับประรดให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
อุปสรรค
1. ประชาชนที่ทำไร่สับปะรดขาดทักษะในการผลิต
2. บรรจุภัณฑ์ยังไม่ทันสมัย ไม่ดึงดูดใจผู้บริโภค
3. ขาดช่องทางการตลาด และการประชาสัมพันธ์ในการจัดจำหน่ายสินค้าจากสับปะรด
เกษตรกรรม