โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมาก

ประวัติชุมชน

                      บ้านป่าหมาก  หมู่ที่ ๘  ตำบลศาลาลัย  อำเภอสามร้อยยอด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีประชาชนอาศัยอยู่ ชื่อว่าบ้านป่าหมาก เดิมฝากการปกครองไว้กับหมู่ที่ ๓ บ้านหนองเป่าปี่  ตำบลศาลาลัย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยยังไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ที่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและถือว่าเป็นบุคคลพื้นที่สูง โดยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณปีพ.ศ.๒๔๘๔ โดยมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บ้านแพรกตะลุยซ้าย เพราะอยู่ใกล้กับลำห้วยแพรกตะลุยซ้าย ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปราณบุรี โดยในสมัยนั้นมีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ ๑๐  ครัวเรือน และต่อมาได้ตกเป็นพื้นที่อิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

                        ในปี  พ.ศ. ๒๕๒๕    สถานการณ์การก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ สิ้นสุดลง จึงมีชาวกะเหรี่ยงจากบ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับชาวบ้านป่าหมาก อีกประมาณ ๑๐ ครัวเรือน ซึ่งชาวบ้านกลุ่มนี้นิยมกินหมากจึงได้ปลูกหมากไว้เก็บผลผลิต ต่อมา ชุดลาดตระเวนของหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๗๑๐ ( ปัจจุบัน กก.ตชด.๑๔ ) ได้ลาดตระเวนเข้ามาพบจึงเรียกพื้นที่นี้ว่า “บ้านป่าหมาก” ( ตชด.เป็นผู้ตั้งชื่อให้จนปัจจุบัน)

                        ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ กก.ตชด.๑๔ ได้ร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆได้พยามแนะนำราษฎร ให้เข้าปลูกบ้านเรือนรวมกลุ่มกัน โดยมีการแบ่งพื้นที่เท่าๆกัน เพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกลำลายพื้นที่ป่าเขาซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปราณบุรี และง่ายต่อการควบคุม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นพื้นที่ทุรกันดารการเดินทางลำบาก และเป็นพื้นที่ที่มีเชื้อไข้ป่าหรือมาลาเรียสูงมาก

                   ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ผบ.กกล.สุรสีห์ (พลตรี สัญชัย รัชตะวรรณ) เดินทางมาตรวจเยี่ยมบ้านแพรกตะคร้อ อำเภอปราณบุรี ( ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอหัวหิน ) ได้ทราบว่าชาวกระเหรี่ยงบ้านสวนทุเรียนยังมีการติดต่อกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่า ตามบริเวณชายแดนพม่า อันอาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่าง

ประเทศซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อราษฎรไทยในโอกาสต่อไป จึงได้มอบนโยบายการจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนบ้านสวนทุเรียนและบ้านป่าหมาก

                        ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกคำสั่งที่ ๒๐๕/๒๕๔๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานออกทำการสำรวจพื้นที่ที่จะใช้รองรับในการอพยพชาวเขาจากบ้านสวนทุเรียน

อาณาเขต

ทิศเหนือ

ติดต่อ

หมู่บ้านแพรกตะลุยหมู่  ๖ตำบลเขาจ้าวอำเภอปราณบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ทิศใต้

ติดต่อ

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ทิศตะวันออก

ติดต่อ

ลำห้วยแพรกตะลุยซ้าย

ทิศตะวันตก

ติดต่อ

ประเทศเมียนมาร์


การคมนาคม

          ระยะทางจากหมู่บ้านถึงศาลากลางจังหวัด   ๑๖๕กิโลเมตร  เป็นถนนลาดยาง  ๑๓๖กิโลเมตร /ถนนลูกรัง  ๖๕ กิโลเมตร   ใช้เวลาในการเดินทาง  ๒ ชั่วโมง  ๔๐  นาที

จำนวนประชากร / ครัวเรือน

มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น  ๒๓๒ ครัวเรือน  มีประชากรทั้งหมด  ๖๖๑  คน

ศาสนา / ภาษาที่ใช้

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา  พุทธ,คริสต์ ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ   ไทย , กะเหรี่ยง

การประกอบอาชีพ / รายได้เฉลี่ย

          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  เกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ๒๐,๐๐๐บาท/ปี

การบริการของรัฐ

            สถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุด  คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านแพรกตะคร้อ ระยะทางห่างจากหมู่บ้าน  ๑๖   กิโลเมตร

โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาที่ใกล้ที่สุด คือโรงเรียนบ้านห้วยไคร้   ระยะทางห่างจากหมู่บ้าน ๒๕  กิโลเมตร

ผู้นำหมู่บ้าน

            กำนัน                 คือ.....................................................

          ผู้ใหญ่บ้าน          คือ  นายศรแดง    โคสินธิ์

 

ปัญหาและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน

          1.พื้นที่ทำกินมีน้อย

          2.การคมนาคมยังไม่สะดวกในฤดูฝน

          3.ไม่มีไฟฟ้าใช้

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมาก

หมู่ที่  ๘   ตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

1. ประวัติของโรงเรียน

          โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมาก  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๘ ตำบลศาลาลัย  อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พิกัด  NP ๖๒๗๕๖๘(ละติจูด ๑๒.๒๗๖๔๔๙ ลองติจูด ๙๙.๕๗๔๓๕๘)      โดยสังกัด กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔๒ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน   สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ( ขึ้นการควบคุมดูแล อำนวยการ สนับสนุน กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔๕   )

                        ก่อนการจัดตั้งโรงเรียน ตชด.บ้านป่าหมาก มีประชาชนอาศัยอยู่ ชื่อว่าบ้านป่าหมาก เดิมฝากการปกครองไว้กับหมู่ที่ ๓ บ้านหนองเป่าปี่  ตำบลศาลาลัย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยยังไม่ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ที่ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๕๔๗ ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและถือว่าเป็นบุคคลพื้นที่สูง โดยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๔ โดยมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บ้านแพรกตะลุยซ้าย เพราะอยู่ใกล้กับลำห้วยแพรกตะลุยซ้าย ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปราณบุรี โดยในสมัยนั้นมีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ ๑๐  ครัวเรือน และต่อมาได้ตกเป็นพื้นที่อิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์

                        ในปี  พ.ศ. ๒๕๒๕    สถานการณ์การก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ สิ้นสุดลง จึงมีชาวกะเหรี่ยงจากบ้านป่าละอู อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับชาวบ้านป่าหมาก อีกประมาณ ๑๐ ครัวเรือน ซึ่งชาวบ้านกลุ่มนี้นิยมกินหมากจึงได้ปลูกหมากไว้เก็บผลผลิต ต่อมา ชุดลาดตระเวนของหมวดตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๗๑๐ ( ปัจจุบัน กก.ตชด.๑๔ ) ได้ลาดตระเวนเข้ามาพบจึงเรียกพื้นที่นี้ว่า “บ้านป่าหมาก” ( ตชด.เป็นผู้ตั้งชื่อให้จนปัจจุบัน)

                        ในปี พ.ศ.๒๕๓๔ กก.ตชด.๑๔ ได้ร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆได้พยามแนะนำราษฎร ให้เข้าปลูกบ้านเรือนรวมกลุ่มกัน โดยมีการแบ่งพื้นที่เท่าๆกัน เพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกลำลายพื้นที่ป่าเขาซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปราณบุรี และง่ายต่อการควบคุม แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นพื้นที่ทุรกันดารการเดินทางลำบาก และเป็นพื้นที่ที่มีเชื้อไข้ป่าหรือมาลาเรียสูงมาก

                        ในปี พ.ศ.๒๕๓๘  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอปราณบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มีการจัดครู จำนวน  ๒  คน มี เดินทางเข้ามาทำการสอนภายใต้การติดต่อประสานงานของ  กก.ตชด. ๑๔  มีพื้นที่ ๒๕ ไร่ พร้อมกับสร้างอาคารเรียน ขนาด ๖x๑๒  เมตร  จำนวน  ๓  ห้องเรียน ไม่มีฝากั้น

                        ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๙ ผบ.กกล.สุรสีห์ (พลตรี สัญชัย รัชตะวรรณ) เดินทางมาตรวจเยี่ยมบ้านแพรกตะคร้อ อำเภอปราณบุรี ( ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอหัวหิน ) ได้ทราบว่าชาวกระเหรี่ยงบ้านสวนทุเรียนยังมีการติดต่อกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่า ตามบริเวณชายแดนพม่า อันอาจจะทำให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อราษฎรไทยในโอกาสต่อไป จึงได้มอบนโยบายการจัดระเบียบพื้นที่ชายแดนบ้านสวนทุเรียนและบ้านป่าหมาก

                        ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ออกคำสั่งที่ ๒๐๕/๒๕๔๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานออกทำการสำรวจพื้นที่ที่จะใช้รองรับในการอพยพชาวเขาจากบ้านสวนทุเรียน

                        ในปี พ.ศ.๒๕๔๒    ( ๑ พฤศจิกายน  ๒๕๔๒ )หมู่บ้านป่าหมาก  ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนบ้านป่าหมาก กก.ตชด.๑๔ ได้จัดครู ตชด. จำนวน ๒ นาย เข้ามาทำการสอน ซึ่งครั้งแรกมี จ.ส.ต.รัตนะ  ศรีคำ เป็นหัวหน้าศูนย์การเรียนโดยเริ่มจัดการเรียนการสอนในระดับชั้น อนุบาล

                        ในปี พ.ศ.๒๕๔๖  (  ๑๑  ก.ย. ๒๕๔๖ ) ได้รับการจัดตั้งเป็นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมาก สาขา ร.ร.ตชด.บ้านเขาจ้าว  กก.ตชด.๑๔ กก.ตชด. จัดครู ตชด. จำนวน  ๒  นายเข้ามาทำการสอน โดยมี  จ.ส.ต.รัตนะ  ศรีคำ เป็นครูใหญ่  คนแรก

                        และเมื่อ วันที่ ๒๘ กรกฎาคม  ๒๕๔๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมากเป็นครั้งแรก

                        และเมื่อ วันที่ ๓๑ มกราคม  ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมากเป็นครั้งที่ ๒

                        และเมื่อ วันที่ ๒๗ มิถุนายน  ๒๕๕๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยี่ยม โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมากเป็นครั้งที่ ๓

                        ปัจจุบันโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมากมีครูทั้งหมด จำนวน ๑๐ คน แยกดังนี้

ครูตชด.๗ นาย  ผู้ดูแลเด็กเล็ก จำนวน  ๒  คน ครูอัตราจ้าง  จำนวน  ๑ คน  โดยมี ร.ต.อ.พัฒณศักดิ์   พัฒนพงศ์ศา   ทำหน้าที่ครูใหญ่ ( ผู้บริหารโรงเรียน )  เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๖๕ คน แยกเป็น อนุบาล ๕๓  คน ประถมศึกษา ๑๑๒ คน

            โรงเรียนมีเขตบริการหมู่บ้าน  ๑  หมู่บ้าน  คือ บ้านป่าหมาก  ตั้งอยู่รอบ ๆ บริเวณโรงเรียน ระยะทางมาถึงโรงเรียนประมาณ ๐.๕  กม.   ประชากรในหมู่บ้านรวม  ๒๓๒  ครัวเรือน  จำนวน ๖๖๑ คน   พื้นที่ทำกินเฉลี่ย ๕ ไร่/ครัวเรือน 

อาชีพหลักคือ ประกอบอาชีพทำไร่และรับจ้าง รายได้ต่อปี  ๒๐,๐๐๐  บาทต่อปีต่อครัวเรือน  นับถือศาสนาพุทธ  ๙๐ เปอร์เซ็นต์  นับถือศาสนาคริสตร์  ๑๐  เปอร์เซ็นต์ นิกายโปแตสแตนท์  จุดเด่นหมู่บ้าน  พื้นที่ทำกินอยู่ใกล้แหล่งน้ำจากลำห้วยแพรกตะลุยซ้าย  จุดด้อยคือ พื้นที่ทำกินมีน้อย  ไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ และการคมนาคมไม่สะดวก โดยเฉพาะฤดูฝน

            โรงเรียนประถมศึกษาที่ใกล้ที่สุดคือ โรงเรียน ตชด.บ้านแพรกตะคร้อระยะทาง ๑๖ กม.

            โรงเรียนมัธยมที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ  โรงเรียนบ้านห้วยไคร้  ระยะทางประมาณ  ๓๕  กม.

            สถานีอนามัยที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ  สถานีอนามัยบ้านแพรกตะคร้อ ระยะทางประมาณ  ๑๖  กม.

          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตามผลการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ และทรงเยี่ยมราษฎร จำนวน  ๓  .ครั้ง ดังนี้

                         ครั้งที่ ๑ วันที่  ๒๘  กรกฎาคม  ๒๕๔๙

                ครั้งที่ ๒ วันที่  ๓๑   มกราคม    ๒๕๕๔

                ครั้งที่ ๓ วันที่  ๒๗  มิถินานย    ๒๕๕๙

ปัจจุบันโรงเรียนมีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน  ๒๕  ไร่....-.....งาน..-......ตารางวา

ครูใหญ่ปัจจุบัน  ร.ต.อ.พัฒณศักดิ์   พัฒนพงศ์ศา  โทร ๐๖๒ –๕๑๖๙๕๓๙

        2.ระบบการศึกษา

          โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านป่าหมาก สังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค  ๑ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน  พื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่  ๑๔จังหวัดประจวบคีรีขันธ์                  

          จัดตั้งอย่างเป็นทางการวันที่  ๑  พฤศจิกายน  ๒๕๔๒  เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษา ดำเนินการสอน 2ภาคเรียน  ดังนี้

                   ภาคเรียนที่  1เปิดวันที่  16 พฤษภาคม  ถึง  10 ตุลาคม

                   ภาคเรียนที่  2เปิดวันที่  1 พฤศจิกายน  ถึง  31 มีนาคม

        3. จำนวนครูและนักเรียน

          เมื่อเริ่มก่อตั้งมีนักเรียน........-......คนมีครูตำรวจตระเวนชายแดน  ๒   นาย

ปัจจุบันมี นักเรียน  ๑๖๕ คน  เป็นชาย ๘๔ คน  หญิง ๘๑คน   ครูตำรวจตระเวนชายแดน ๗ นาย

        4.การดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ

            วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริขึ้นในโรงเรียนตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ฉบับที่ 5 (ปี 2560 - 2569) โดยมีผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ดังนี้

        4.1 เป้าหมายหลักที่ 1  เสริมสร้างสุขภาพของเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา

เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสมดุลในด้าน   พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพละศึกษา ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติ มีความรักหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ภาคภูมิใจในความเป็นไทย และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติได้

       4.2 เป้าหมายหลักที่ 2  เพิ่มโอกาสทางการศึกษา

          เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสศึกษาต่อมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของครูและโรงเรียนให้จัดการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์

        4.3 เป้าหมายหลักที่ 3  เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางวิชาการและทางจริยธรรม

      เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ทั้งวิชา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา รวมทั้งทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม

       4.4 เป้าหมายหลักที่ 4 เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ

     เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้อาชีพการเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์ และการจัดทำบัญชี งานอาชีพที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย ตลอดจนมีลักษณะนิสัยและคุณธรรมจริยธรรมตามหลักและอุดมการณ์สหกรณ์

       4.5 เป้าหมายหลักที่ 5  ปลูกจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

      เพื่อให้เด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เห็นความงดงาม เกิดเป็นความปิติที่ จะศึกษา เป็นความรัก ความผูกพัน หวงแหนในทรัพยากรของตน ร่วมในกระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

       4.6 เป้าหมายหลักที่ 6   เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นและของชาติไทย

       เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมของท้องถิ่นและวัฒนธรรมไทย โดยทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง



ปัญหาชุมชน


Swot


อาชีพหลักของชุมชน


รางวัลและความสำเร็จ