ประวัติชุมชนบ้านทุ่งกลาง ตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
มีการเล่าขานกันมาว่าเดิมทีบุคคลที่เข้ามาบุกเบิกหมู่บ้านทุ่งกลางเป็นคนแรกคือ “ปู่จันทร์” ไม่ระบุเป็นหลักฐานว่า ปู่จันทร์เข้ามาปี พ.ศ.ใด มีเพียงหลักฐานที่กล่าวเล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบันคือ มีหนองน้ำซึ่งเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันอยู่หน้าหอประชุมหมู่บ้าน มีชื่อเรียกกันติดปากว่า หนองปู่จันทร์
ผู้บุกเบิกรุ่นที่ ๒ ที่มีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นผู้ที่เข้ามาบุกเบิกหมู่บ้านทุ่งกลางมีหลายคนด้วยกันต่างมีครอบครัวมีลูกมีหลานจนถึงปัจจุบัน พอจะกล่าวเป็นหลักฐานประวัติหมู่บ้านได้ดังนี้
๑. นายเมี้ยน กองใหญ่ ๕. นายหนู เสือน้อย
๒. นายเฉื่อย สนธิ ๖. นายหม้อ คงศรี
๓. นายตึก มีศักดิ์ ๗. นายสี อยู่เย็น
๔. นายจอน มีเดช ๘. นายกลิ่น (ไม่ทราบนามสกุล)
ข้อมูลพื้นฐาน
หมู่บ้านทุ่งกลางเป็นหมู่บ้านเล็กๆอยู่ในตำบลเขาล้าน อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอทับสะแกประมาณ ๔ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓,๒๕๐ ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
ทิศเหนือ ติดพื้นที่หมู่ ๖ ตำบลแสงอรุณ อ.ทับสะแก
ทิศใต้ ติดพื้นที่หมู่ ๔ และหมู่ ๗ ตำบลเขาล้าน อ.ทับสะแก
ทิศตะวันออก ติดพื้นที่หมู่ ๕ ตำบลทับสะแก อ.ทับสะแก
ทิศตะวันตก ติดพื้นที่หมู่ ๘ ตำบลเขาล้าน อ.ทับสะแก
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่ ๖ เป็นพื้นที่สวนมะพร้าวมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ของดินพอสมควร มีพื้นที่นาบ้างเป็นบางส่วน ฤดูร้อนจะมีสภาพแห้งแล้ง ฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีลมแรงฝนตกไม่สม่ำเสมอ ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ามะพร้าว และมีทุ่งนาบ้าง
จำนวนประชากรแยกตามทะเบียนราษฎร์และที่อยู่จริง ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ชาย ๒๙๕ คน หญิง ๓๒๒ คน รวม ๖๑๗ คน จำนวนครัวเรือน ๑๖๐ หลังคาเรือน ข้อมูลที่อยู่จริง ชาย ๒๓๙ คน หญิง ๒๖๑ คน รวม ๕๐๐ คน จำนวนครัวเรือน ๑๔๙ หลังคาเรือน
ประเด็นปัญหา/ความต้องการของชุมชน
๑. ปัญหาเรื่องน้ำ ชาวบ้านไม่พอใจเรื่องน้ำประปา ไหลบ้างไม่ไหลบ้าง คุณภาพของน้ำไม่ดีเนื่องจากเป็นน้ำประปาบาดาล ไม่สามารถทำการเกษตรได้
๒. ปัญหาเรื่องฝุ่นละอองจากโรงใยมะพร้าว ชาวบ้านบางส่วนได้รับผลกระทบจากละอองฝุ่นที่ปลิวมากับลมมาผสมกับน้ำบ้าง เครื่องใช้ในครัวเรือนบ้าง เสื้อผ้าบ้าง
๓. ปัญหาเรื่องความร่วมมือของชาวบ้านในการจัดกิจกรรมของชุมชน
จุดแข็ง – S Strengths
๑. ชุมชนบ้านทุ่งกลางมีเศรษฐกิจหมุนเวียนกันในชุมชน คือ บ้านที่ไม่มีสวนมะพร้าวก็จะไปทำงานรับจ้างบ้านที่มีสวนมะพร้าวเยอะๆซึ่งเป็นการช่วยเหลือกันในชุมชน
๒. ชุมชนบ้านทุ่งกลางมีศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งกลาง ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความรู้เรื่องการเกษตรกับชาวบ้านในชุมชนและเป็นสถานที่จัดอบรมเรื่องการเกษตรและผลิตภัณฑ์ของชุมชน
จุดอ่อน – W Weakness
๑. ชาวบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือกับชุมชนเท่าไหร่นักในเรื่องกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้น
๒. ระบบการจัดการน้ำไม่ดี ระบบประปาส่วนภูมิภาคเข้าไม่ถึงทุกครัวเรือน
๓. ขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องผลิตภัณฑ์ของชุมชน
๔. การระบาดของศัตรูพืชทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง
โอกาส – O Opportunity
๑. จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน
๒. สนับสนุน ส่งเสริมการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี เช่น คณะกลองยาว
๓. พัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการส่งเสริมสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ ให้มีความเข้มแข็ง
อุปสรรค – T Threat
๑. สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน
๒. ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านความรู้ที่จะมาพัฒนาชุมชน ในเรื่องส่งเสริมอาชีพเสริม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่น กระถางต้นไม้จากขุยมะพร้าวซึ่งรูปลักษณ์ยังไม่ดีพอที่จะออกสู่ตลาดหรือเป็นสินค้า OTOP ได้
อาชีพหลักของครัวเรือน
1. อาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวน ๕๙ ครัวเรือน
2. อาชีพเกษตรกรรมทำสวนมะพร้าว จำนวน ๕๔ ครัวเรือน
3. อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว จำนวน ๑๐ ครัวเรือน
อาชีพเสริมของครัวเรือน
1. อาชีพเกษตรกรรมทำสวน จำนวน ๓๐ ครัวเรือน
2. อาชีพรับจ้าง จำนวน ๙ ครัวเรือน
3. อาชีพค้าขาย จำนวน ๓ ครัวเรือน