ปี พ.ศ. 2514 ครอบครัวสมาชิกกลุ่มไร่ผัก ต. เขาใหญ่ อ.ชะอำ จำนวน 120 ครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่ทำกิน เนื่องจากที่ทำกินเดิม ที่นิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชรจัดสรรให้ไม่เพียงพอต่อสมาชิก เพราะครอบครัวได้ขยายขึ้น จึงมีความต้องการที่ทำกินเพิ่มขึ้น ในเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชปรารภให้จังหวัดเพชรบุรีพิจารณาหาทางช่วยเหลือ ซึ่งจังหวัดได้พิจารณาเห็นว่า ที่ดินดอนขุนห้วยซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ประมาณ 2,580 ไร่ มีความเหมาะสมพร้อมกับได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบและทรงมีพระราชปรารภให้จัดสรรแก่สมาชิกและราษฎรใกล้เคียง โดยไม่ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ จังหวัดจึงได้จัดทำโครงการขึ้นเรียกว่า “ โครงการพัฒนากลุ่มชาวไร่ดอนขุนห้วย” (ปัจจุบัน เรียกว่า ดอนขุนห้วย 1)
ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี แต่เดิมพื้นที่บริเวณดอนขุนห้วยอยู่ในเขตตำบลเขาใหญ่ มีความแห้งแล้งมากฝนไม่ตกตามฤดูกาล และการทำการเกษตรกรรมมีความยากลำบาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงทรงพระราชทานโครงการพระราชประสงค์ เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพระราชทานชื่อใหม่ให้ว่า "ดอนขุนห้วย” เนื่องจากบริเวณนี้ประกอบไปด้วยที่ดอน ขุนเขา และลำห้วย ตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งหมู่บ้าน พ.ศ.2515
1. สับปะรดราคาตกต่ำ/การต่อยอดเรื่องผ้าไหม
2. ขาดผลิตภัณฑ์ที่หลายหลาย
3. บรรจุภัณฑ์ไม่น่าสนใจ/ขาดโลโก้/จำหน่ายไม่ได้ราคา
4. ขาดองค์ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สับปะรดแบบครบวงจร
5. ขาดการวางแผนการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย
6. การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
7. ศูนย์เรียนรู้สับปะรดครบวงจรเพื่อนักท่องเที่ยว/ผู้สนใจ
1. ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกผักเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การปลูกสับปะรดเป็นพืชหลัก และพืชผักสวนครัว มีการเลี้ยงสัตว์ร่วมด้วย เช่นหมู และวัว
2. อาชีพการแปรรูปสับปะรด เช่น สับปะรดกวน สับปะรดหยี