ยางหย่อง

ประวัติชุมชน

ตำบลยางหย่อง  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร  คือ ทำนา ทำไร่  ปลูกพืชผลทางการเกษตร  เช่น  กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะนาว  ข้าวโพด  เป็นต้น  โดยมีพื้นที่บางส่วนปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์  สินค้าทางการเกษตรส่วนใหญ่ประชาชนขายที่ตลาดหนองบ๊วย  ชุมชนมีแม่น้ำไหลผ่านทั้ง 5 หมู่บ้าน  พื้นที่มีการจัดงานประจำปี  คือ  งานข้าวหลามยางหย่อง  โดยจะมีตลาดนัดเฉพาะกิจ  ซึ่งชาวบ้านสามารถนำพืชผลทางการเกษตรมาขายในงานได้



ปัญหาชุมชน

  • ชุมชนมีผ้าทอมือบ้านท่าโล้  ซึ่งมีคุณภาพดี  ซึ่งต้องการให้สินค้ามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  โดยอยากสนับสนุนให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน  พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แทน    พวงหรีดทั่วไปที่ใช้ในงานศพ  แต่ยังไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้  เนื่องจาก  ผู้ผลิตมีอายุมาก  ขาดผู้สืบทอดต่อ  ราคาต้นทุนของผ้ามือมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตลาดทั่วไป  อีกทั้งสินค้ายังไม่เป็นที่นิยมของตลาด
  • ประชาชนในชุมชนปลูกพืชผลทางการเกษตร  แต่ยังไม่เห็นคุณค่าของการทำเกษตรปลอดสารพิษ  บางบ้านที่ปลูกพืชแบบปลอดสารพิษ  ทางองค์การบริหารส่วนตำบลทำป้ายปลอดสารพิษให้  แต่ชาวบ้านก็ไม่เห็นคุณค่า  จึงต้องการให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแนวคิดของชาวบ้านมาใส่ใจเกษตรปลอดสารพิษมากยิ่งขึ้น  โดยมีความคาดหวังว่า  ชุมชนยางหย่องจะสามารถเป็นแหล่งสร้างอาหารปลอดสารพิษออกสู่ตลาดได้

 



Swot

จุดแข็ง

1. พื้นที่ตำบลยางหย่องเป็นพื้นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์มีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านครบทุกหมู่บ้าน  ประกอบกับมีระบบชลประทานที่ดีใช้สำหรับการเกษตรได้ตลอดทั้งปีและครอบคลุมพื้นที่ประกอบเกษตรกรรมเกือบทั้งตำบล  จึงทำให้พื้นที่ตำบลยางหย่องมีสภาพที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการทำการเกษตร  นอกจากนี้ระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคก็ได้รับการพัฒนาให้อยู่ในสภาพที่ดีและครอบคลุมทั่วทั้งตำบล

2.เส้นทางคมนาคมมีความสะดวกสบาย  มีความคล่องตัวในการขนส่งสินค้าทางการเกษตรและการประกอบธุรกิจซึ่งเป็นช่องทางในการติดต่อค้าขาย  หรือส่งสินค้าออกสู่ตลาด

3. ตำบลยางหย่องตั้งอยู่ใกล้สถานที่ทำการอำเภอท่ายาง  และใกล้แหล่งธุรกิจการค้าที่สำคัญของอำเภอท่ายาง

4. ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป้นอาชีพหลักและประกอบอาชีพค้าขายเป็นอาชีพรอง  จึงมีรายได้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ

5. ตำบลยางหย่องมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู  เผยแพร่และถ่ายทอดประเพณีไทยทรงดำ  หมู่5 บ้านท่าโล้  ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามให้คงอยู่สืบไป

6. ประชาชนตำบลยางหย่องส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาทำให้สามารถอ่านออกเขียนได้

7. ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มีการแบ่งโครงสร้างส่วนราชการอย่างชัดเจน  และมีการบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

จุดอ่อน

1. ประชาชนขาดความตระหนักถึงการรักสุขภาพ

โอกาส

1. ตำบลยางหย่องเป็นชุมชนทางผ่านและเชื่อมต่อระหว่างอำเภอท่ายางและอำเภอบ้านลาดอีกทั้งยังมีแม่น้ำเเพชรบุรีไหลผ่านเอื้อต่อการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

อุปสรรค

1. ตำบลยางหย่องส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบต่ำ  เมื่อมีภัยธรรมชาติเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยบ่อย  



อาชีพหลักของชุมชน

อาชีพเกษตรกร



รางวัลและความสำเร็จ