พื้นที่ตำบลหัวสะพาน ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน มีประชากรจำนวนทั้งหมด 4,564 คน เป็นประชากรผู้สูงอายุจำนวน 1,114 คน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป ค้าขายและทำนา เป็นชุมชนชนบทกึ่งเมือง กลุ่มชาติพันธุ์ คือ ไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง มีประเพณีและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและมีภาษาท้องถิ่น คือภาษาลาวโซ่ง เดิมมีละครชาตรีหลายคณะ อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม่พบผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แต่มีครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้ ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย และเป็นชุมชนที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก มีผู้สูงอายุทั้งสิ้น 1,114 คน พบผู้สูงอายุติดเตียง 96 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 30 คน โดยส่วนใหญ่มีรายได้น้อยและเป็นผู้สูงอายุติดบ้าน นอกจากนั้นจากการสัมภาษณ์เชิงลึกได้ข้อมูลว่ายังมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่อยู่บ้าง ส่วนทุนทางสังคมในพื้นที่พบว่า มีการช่วยเหลือกันในพื้นที่ และมีกลุ่มชมรมผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง และมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการมีผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของการแพทย์แผนไทยและดนตรีไทย นอกจากนี้ในพื้นที่ตำบลหัวสะพานมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ให้บริการจำนวน 1 ศูนย์
ปัญหาชุมชน
หลังจากการเปิดเวทีประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาและความต้องการของชุมชน รวมถึงทุนทางสังคม ของตำบลหัวสะพาน ทำให้ทราบถึงความต้องการทางสุขภาพของคนในชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การอบรมผู้ดูแล / ผู้ช่วยเหลือคนไข้ การส่งเสริมสุขภาพให้กับคนในชุมชน และการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ นอกจากนี้ชุมชนต้องการให้ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กวัยก่อนเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของตำบลหัวสะพานควบคู่ไปด้วย ทำให้เกิดเป็นกิจกรรมพัฒนาสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียน ตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติและมาตรฐานอัตลักษณ์บนฐานภูมิปัญญาโดยดำเนินกิจกรรมที่เชื่อมโยงการถ่ายทอดภูมิรู้ของผู้สูงอายุสู่เด็กวัยก่อนเรียนเพื่อเชื่อมรุ่นวัยสานสายใยของชุมชน
STRENGTHS
1. การส่วนร่วมของบุคคลในชุมชน
2 ผู้นำหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานด้านสุขภาพให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม
3. มีหน่วยงานบริการสุขภาพในชุมชน
4. มีทรัพยากรผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ เช่น นวัตกรเพื่อผู้สูงอายุ สมาชิกชมชรมผู้สูงอายุ เป็นต้น
5.หน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนสถานที่และงบประมาณการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์เรียนรู้นวัตกกรมผู้สูงอายุ การดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน
6. ทุนภูมิปัญญาผู้สูงอายุมีทั้งทุนสุขภาพ ทุนจิตอาสา ทุนวัฒนธรรมชาติพันธ์ ทุนฝีมือการผลิตสินค้าชุมชน
7. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มติดบ้านและติดเตียง
8. บุคลากรในหน่วยงานสุขภาพหรืองานพัฒนาสุขภาพเด็กทำงานเชิงรุก
WEAKNESSES
1. ขาดการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เชิงพาณิชย์
2. ขาดกลไกในการพัฒนาทุนทางสังคม อันเนื่องจากมีความแตกต่างของประชาชนในพื้นที่ และขาดการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน
3. ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน และมีภาระหนี้สินของครัวเรือน
4. ผู้สูงอายุหวังความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ บทบาทส่วนร่วมเชิงรุกน้อย
OPPORTUNITIES
1. เป็นพื้นที่ทางผ่านการเดินทางเข้าสู่เมืองหลวง
2. ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการดำเนินโครงการ
3. มีภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่เด่นชัด เช่น ขนมตาล ขนมกาละแม ละครชาตรี และวัฒนธรรมไทยทรงดำ
โอกาสภายใน
1. มีผู้ทรงภูมิปัญญาในท้องถิ่นด้านจักสาน ด้านละครชาตรี และด้านสมุนไพร
THREATS
1. โครงสร้างของประชากรในพื้นที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
2. พื้นที่การปกครองของเทศบาลตำบลหัวสะพานที่แบ่งออกเป็น 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวสะพาน และตำบลวังตะโก
3. พื้นที่มีความเป็นเมืองมากกว่าชนบท ประชากรวัยทำงานให้ความสำคัญกับการทำมาหารายได้มากกว่ากิจกรรมส่วนร่วม
4. หน่วยงานท้องถิ่นเป็นองค์กรบริหารตำบลขนาดเล็ก มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ